วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

Ink tank PT80

คู่มือการใช้งาน
(
ระบบเติมหมึกอัตโนมัติ Auto refill)
การพิมพ์ของเครื่องอิ้งค์เจ็ต มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1. Thermal Electric (
ความร้อน) เป็นการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นน้ำหมึกที่หัวพิมพ์ให้เกิดวามร้อนและฉีดออกมา ใช้ในยี่ห้อ  HP , CANON , LEXMARK
2. Piezo Electric (
แรงดันไฟฟ้า) เป็นการใช้ไฟฟ้าไปกระตุ้นให้แท่ง Piezo Crystal สั่นและดันเอาน้ำหมึกออกมา ใช้ในยี่ห้อ EPSON 
การทำงานของระบบ
การทำงานของระบบ tank จะประกอบด้วย 2 ห้อง คือห้องเล็กและห้องใหญ่ โดยที่แรงดันในสายยางและห้องใหญ่ จะคงที่ตลอดเท่ากับห้องเล็กซึ่งอากาศจากภายนอกจะดันเข้ามาแทนที่ เมื่อมีการใช้หมึก หมึกจากห้องหมึกใหญ่จะค่อยๆ ลดลงโดยที่ความดันยังคงที่ ดังนั้นการใช้งานปกติหมึกที่อยู่ในห้องเล็กจะสูงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังรูป

จุกยางจะมี 2 จุก คือจุกเล็กและ จุกใหญ่ โดยการใช้งาน ภาวะปกติให้ปิดจุกใหญ่ไว้ส่วนด้าน จุกเล็กให้เปิดออกและใส่ชุดกรองอากาศไว้ดังรูป

เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายเครื่องพิมพ์และชุดแทงค์
  1. ต้องถอดชุดกรองอากาศออกก่อนและปิดจุกยางเล็ก และปิดจุกยางใหญ่ทุกครั้ง
  2. เก็บสายยางให้เรียบร้อยโดยให้มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด หรือพับสายยางและหนีบด้วยคลิปหนีบ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เนื่องจากแรงดันในสายยางจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
  3. ชุดแท้งค์ให้อยู่ในระนาบเดียวกับเครื่องพิมพ์หรือวางบนถาดรองรับกระดาษด้านหน้า (ถ้ามี)
  4. ห้ามวางชุดแท้งค์บนเครื่องพิมพ์



เมื่อต้องการเติมหมึก
  1. ควรที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
  2. ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กไว้ก่อน แล้วค่อยเปิดที่จุกใหญ่
  3. เติมหมึกให้ได้ตามปริมาณที่ต้องการ ปิดจุกใหญ่แล้วค่อยเปิดจุกเล็ก
ตัวอย่างของแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป                          ซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์

 


ดูรูปประกอบซึ่งอาจมีสาเหตุที่เป็นไปได้ดังนี้


  1. วางชุดแท้งค์สูงกว่าเครื่องพิมพ์
  2. เปิดจุกเล็กและจุกใหญ่พร้อมกัน
การแก้ไขแท้งค์ที่มีแรงดันเปลี่ยนไป
  1. ควรที่จะต้องพับสายยางและใช้คลิปหนีบกระดาษ หรือเทปใสเล็กรัดสายยางไว้ เพราะว่าถ้าไม่พับสายยาง อาจทำให้แรงดันสูงขึ้น ขณะเติมหมึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเครื่องพิมพ์
  2. ถอดชุดกรองอากาศออก ปิดจุกเล็กและ ปิดจุกใหญ่
  3. เอียงถังหมึก ดังรูปสังเกตเห็นว่าหมึกพิมพ์จะไหลจากห้องเล็กสู่ห้องใหญ่ ดังรูป


  • เอียงถังหมึกตั้งตรงตามปกติ
สาเหตุที่ทำให้หัวพิมพ์เสื่อม หรือเสีย
  1. เครื่องพิมพ์ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ หมึกจะเริมแห้งและทำให้หัวพิมพ์อุดตัน
    2.
    น้ำหมึกในตลับเริ่มหมด แล้วยังใช้พิมพ์งานต่อไปอีก ฉะนั้นหัวพิมพ์จะขาดน้ำหมึกหล่อเลี้ยง และไม่สามารถระบายความร้อนที่หัวพิมพ์ออกไปได้ จึงเป็นผลทำให้หัวพิมพ์เสียหายอย่างถาวร
    3.
    หัวพิมพ์หมดสภาพหรืออายุการใช้งาน
    4.
    นำตลับหมึกมาเติมหมึกและนำกลับมาใช้งานบ่อยครั้งเกินไป หรือการดูแล และคุณภาพของน้ำหมึกที่ใช้เติมไม่ดี
    เทคนิคป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา
  2. หากเครื่องพิมพ์ไม่ค่อยได้ใช้งาน ควรเปิดเครื่องพิมพ์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งและทดลองพิมพ์ เพื่อให้ระบบของเครื่องทำความสะอาดหัวพิมพ์ หากงานพิมพ์ปรากฎสีใดสีหนึ่งขาดหายไป ควรทำการเติมหมึกหรือ สั่งล้างหัวพิมพ์จากเครื่องไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์รุ่นนั้นๆ และให้ทดลองพิมพ์งานต่อไป ถ้ายังมีสีที่ขาดหายไปควรส่งให้ช่างที่ชำนาญตรวจสอบต่อไป (สำหรับตลับที่มีหัวพ่นและหมึกอยู่ตลับเดียวกันให้นำตลับหมึกจุ่มในน้ำร้อนประมาณ 80 องศา ประมาณ 10 นาทีแล้วนำกระดาษทิชชูมาซับเพื่อดูว่าน้ำหมึกออกเป็นปกติหรือยังถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าตลับพิมพ์นี้อาจเสียหายถาวรไม่ควรนำตลับที่เสื่อมหรือเสียนี้มาเติมหมึก )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้