วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

การแก้ไข Printer Canon MP145 ขึ้น Error Code E3

    การแก้ไข Printer Canon MP145 ขึ้น Error Code E3 เรามาดูกันว่าจะแก้ไขยังไง เกิดจากชิ้นส่วนไหนทำให้ Eror E3 เมื่อก่อนตอนเจออาการนี้แรกๆ ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร ค้นหาในอินเตอร์เนตก็ไม่เจอข้อมูล รู้แต่เพียงว่า Error Code E3 คือ Paper JAM  คือกระดาษติดนั่นเอง  ก็ลื้อเครื่องมาดูก็ไม่เจอเศษกระดาษติด จึงลื้อทุกชิ้นส่วนออกมาดู จนเจอว่าเกิดจากชิ้นส่วนชิ้นนึง  เมื่อมีอาการนี้มาซ่อม ผมก็จัดการเปลี่ยนอะไหล่ แต่ด้วยราคาอะไหล่มันแพงลูกค้าก็จะบ่นกัน  ผมก็มาหาวิธีที่จะแก้ไขยังไงให้มันใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน จนหาวิธีจนได้  เลยนำมาบอกกัน ย้ำนะครับว่าสอนซ่อมไม่ได้สอนเปลี่ยน ลองมาดูกันครับ อาการนี้จะเกิดได้ที่  3 จุดนะครับ



 จุดที่  1




 


ก่อนอื่นให้ดูเปิดฝาเปลี่ยนตลับหมึกขึ้น  ดูตรงวงกลมไข่ปลา ตรงนั้นจะเป็น Senser กระดาษ ว่ามีกระดาษหรือไม่ ใก้คุณดูตรงนี้ว่ามีเศษกระดาษหรือเศษอย่างอื่นไปติดหรือเปล่า ถ้ามีก็เอาออก ถ้าไม่มีก็ไม่ใช่ตรงนี้แล้วที่เป็นสาเหตุแล้ว ต้องลื้อเครื่องแล้วครับ ไปดูจุดที่ 2 กันเลย

 จุดที่  2




 


ลื้อเอาชุดฐานดูดหมึกทิ้งออกมาครับ ชุดสี่เหลี่ยม ไข่ปลา ตรงนี้ออกมา



 


เมื่อางขึ้นมาดู จะเจอเฟืองตัวนึงหลุดออกมา ตรงนี้สำคัญ ถ้าคุณประกอบกลับเข้าไป แล้วประกอบเครื่อง คุณจะได้ลื้อออกมาอีกแน่นอน เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่เฟืองหลุด แต่อยู่ที่สปริงที่อยู่ตรงกลางของเฟือง มันถูกแรงบิดจากเครื่องติดขัดอะไรซักอย่าง ทำให้สปริงบิดผิดรูป หากคุณประกอบเข้าไปให้เข้าที่แล้ว ประกอบเครื่อง มันจะปริ้นได้ 1-3 แผ่นก็จะหลุดอีกเหมือนเดิม ผมลองมาแล้วครับ ไม่เกิน 3 แผ่นหลุดเหมือนเดิม ได้เสียเวลาลื้อออกมาอีกรอบ แซดมากๆ ขี้เกียจลื้อจริงๆ   แล้วจะแก้ยังไงกับอาการนี้  ดูขั้นตอนต่อไปเลย




 






 

หลังจากนั้น ต้องทำการล็อกขา ล็อกเฟืองยังไงก็ได้ไม่ให้มันหลุดอีก ผมเลือกใช้ Epoxy สีดำ เป็นแบบ 2 หลอดผสมกัน แล้วเอาใส่ในร่องกลางเฟือง ระวังอย่าให้ epoxy มันติดขอบเฟืองนะครับ  เพราะเฟืองซ้ายและขวา จะต้องหมุนได้ ถ้าใส่ออกมาเกินจากร่องกลาง มันจะล็อกเฟืองทั้งคู่ไม่ให้ขยับได้ ดังนั้นใส่แค่ตรงกลางดับภาพพอ เมื่อใส่แล้วก็หมุนเฟือง ซ้ายและขวา ให้หมุนไปเรื่อยๆ 2 นาที เพื่อไม่ให้ Epoxy กว่าเกินออกมานิดหน่อย มันจะไปล็อกติดเฟืองซ้ายและขวาไว้  Epoxy ต้องซื้อแบบแห้งเร็วนะครับ 10 นาทีก็แห้งแล้ว   เตือนก่อนนะครับ Epoxy นี้แข็งมากๆ ถ้าติดพลาดแล้วเอาไม่ออกเลยนะครับ แข็งประมาณไหนเหรอครับ ประมาณน้องๆเหล็ก จะเอาออกด้วยมีดคัทเตอร์ปาดไม่เข้าหล่ะครับ ต้องใช้ตะไบอย่างเดียว






 


 เมื่อมันแห้งดีแล้วก็ประกอบกลับเลยเหมือนเดิม




 



ภาพนี้เป็นการลื้อเอาฐานดูดหมึกเข้าและออก โดยไม่จำเป็นต้องถอด ชุดคานหัวพิมพ์ออกทั้งหมดก็ได้นะครับ ให้ถอดแค่ฝั่งขวาออกก็พอ แล้วเบี้ยงชุดคานหัวพิมพ์ออกนิดนึงก็สามารถอดชุดฐานดูดหมึกออกมาได้แล้ว หรือถ้าขยันถอดก็ ถอดชุดคานหัวพิมพ์ออกเลยก็ได้ครับแล้วแต่ขยัน แต่ผมเอามาแนะนำ วิธีที่ง่ายๆไม่ต้องลื้ออกหมดให้เป็นทางเลือกอีกทาง

จากนั้นก็ประกอบเครื่องและทดสอบดูครับ ว่าเครื่องทำงานมั๊ย ถ้ามันใช้ได้ก็จบครับ ถ้าไม่ได้ก็ลื้อใหม่ แต่ถ้าคุณทำตรงชุดสปริงไม่พลาด รับรองได้แน่นอนครับ 






 ก็อย่างที่บอกด้านบนแหล่ะครับ ผมสอนซ่อมไม่ได้สอนเปลี่ยน หากใครอยากจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนนะครับ ก็อย่างที่บอกด้านบนครับว่าราคาชุดนี้มันแพง ชุดนี้ทั้งชุดก็ราว 480-550 บาท เฉพาะราคาอุปกรณ์นะยังไม่ได้รวมค่าแรงลื้อ แค่ลื้อและประกอบก็ใช้เวลา ครึ่งชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมง แล้วแต่ความชำนาญครับว่าจะช้าจะเร็ว เมื่อบวกค่าแรงเข้าไปอีก สมมุติ 300 บาท ซึ่งผมว่า 300 บาทมันสมเหตุสมผลกับเวลาและความยาก มันก็รวมเป็น 850 บาทแล้วครับ ปริ้นเตอร์ตัวละ 2000 บาท ซ่อม 850 บาท มันเลยถือว่าแพงไงครับ ซึ่งลูกค้าไม่เข้าใจว่าอะไหล่มันมาแพง ลูกค้าถึงบ่นว่าแพง ผมถึงนำวิธีการซ่อมมาเป็นทางเลือกให้อีกทาง ประหยัดเงินลูกค้า ร้านค้าก็ภาพลักษณ์ดีที่ซ่อมไม่แพง ดีทั้ง 2 ฝ่าย แล้วถามว่าการ Modify แบบนี้มันจะอยู่ได้นานแค่ไหน คิดดูเอาครับ Epoxy ตัวนี้ทนแรงบิดได้ 3 ตัน พอแห้งแล้วแข็งมาก ไม่มีทางเอาออกได้ เฟืองชุดนี้จะไม่หลุดอีกเลยตลอดชีพ ไม่ได้โม้นะครับ ผมไม่ใช่นักมวย  (พาดพิงเค้า ถ้าเค้ารู้จะมาต่อยผมมั๊ยเนี้ย 555 )  ถ้าไม่อยากซ่อมก็ซื้อชุดด้านล่างนี้แหล่ะครับ ทั้งแท่นเลยมาเปลี่ยน

 




 





 จุดที่  3


หากดูแล้วว่าชุดเฟือง แบบจุดที่ 2 ไม่หลุดก็ดูจุดที่ 3 ต่อเลยครับ คือชุดลูกยางโหลดกระดาษ ชุดลูกยางล่าง แกนมันจะหัก สังเกตุดูดังภาพด้านล่างครับ แกนมันหักและหลุดออกมาตรงชุดนี้จะซ่อมยากหน่อย ความยากมันอยู่ที่ต้องถอดชุดเฟืองออกทั้งหมดถึงจะถอดตัวที่หักออกมาได้ 


 


ถ้าหักชุดนี้เปลี่ยนทั้งแท่นง่ายกว่า ถ้าอยากจะ Modify ก็ได้ครับ ดูขั้นตอนต่อไปเลย




 


ถอดตัวที่หักออกมาแล้ว ก็เอา Epoxy อัดตรงกลางรูเหมือนเดิม






 



แล้วก็ประกอบกลับเข้าไปเหมือนเดิม รอจนแห้งแล้วก็ทดสอบได้เลย

2 ความคิดเห็น:

ค้นหาบล็อกนี้